วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมของภาคใต้

ดินแดนใต้ปลายด้ามขวาน ... หลากสีสันหลายวัฒนธรรม

ดินแดนใต้ปลายด้ามขวาน ... หลากสีสันหลายวัฒนธรรม


ดินแดนใต้ปลายด้ามขวาน ... หลากสีสันหลายวัฒนธรรม


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ภาคใต้ เป็นดินแดนแห่งหมู่เกาะและท้องทะเลอันงดงาม อีกทั้งยังมีอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมากมาย นอกจากนี้ ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวใต้ยังโดดเด่นมีเอกลักษณ์และเปี่ยมเสน่ห์ชวนให้เข้าไปสัมผัสและเรียนรู้อย่างใกล้ชิด จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในแต่ละปีภาคใต้จัดเป็นอีกภาคที่มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติมาเที่ยวชมมากมาย

     








สำหรับจังหวัดในภาคใต้ จากการแบ่งพื้นที่ตามราชบัณฑิตยสถาน มีทั้งสิ้น 14 จังหวัด ดังนี้

1. กระบี่
2. ชุมพร
3. ตรัง
4. นครศรีธรรมราช
5. นราธิวาส
6. ปัตตานี
7. พังงา
8. พัทลุง
9. ภูเก็ต
10. ยะลา
11. ระนอง
12. สงขลา
13. สตูล
14. สุราษฎร์ธานี
เพลงพื้นบ้านประจำภาคใต้

          ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่าจะมาจากพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม่ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กัน ตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แลัวตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ

          จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น รำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนราห์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเป่า เช่น ปี่นอกและเครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ รวมทั้งความเจริญทางศิลปะ การแสดง และดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่าละคอน

          นอกจากนี้ ยังมีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ประกอบการละเล่นแสดงต่าง ๆ เช่น ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และเครื่องดนตรีประกอบผสมอื่น ๆ ดนตรีลิเกป่าที่ใช้เครื่องดนตรีรำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี่ และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบอย่างมาจากการเต้นรำของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง หรือบางคณะก็เพิ่มกีตาร์เข้าไปด้วย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซีย

          ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น เพลงพื้นบ้านเกิดจากชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลงและสืบทอดกันมาแบบปากต่อปากโดยการจดจำบทเพลงเป็นคำร้องง่าย ๆ ที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทำให้เพลงพื้นบ้านของไทยในภาคต่าง ๆ มีความแตกต่างกันออกไป

 เพลงพื้นเมืองภาคใต้

          เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด มีทั้งการร้องเดี่ยวและการร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

          1. เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาคหรือเพลงแห่นาคเป็นต้น

          2. เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่ เพลงตันหยง ซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นปีใหม่ และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่ร้องกล่อมเด็กให้หลับ และเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลู ที่เป็นการร้องคล้าย ๆ ลำตัด โดยมีรำมะนา เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษาท้องถิ่นคือภาษามลายูเป็นกลอน โต้ตอบ

วัฒนธรรมการแต่งกายในภาคใต้ 

การแต่งกาย

วัฒนธรรมการแต่งกายในภาคใต้ 
ผ้าทอพุมเรียง
เป็นผ้าที่ทอจากอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบันผู้ทอส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม เชื่อกันว่าแต่เดิมเป็นการทอใช้เองภายในครัวเรือน นิยมใช้เส้นฝ้ายล้วน แต่อาจผสมเส้นไหมบ้างสำหรับผ้าที่ต้องการความแวววาว ใช้วิธีทอแบบยกดอกนิยมนำไปตัดเป็นผ้านุ่งสำเร็จ เนื่องจากตัวซิ่นใช้ด้วยสีล้วนทอจึงทำให้สีดูสดช่วยขับลายเชิงให้เด่นขึ้นลักษณะลวดลายเลียนแบบธรรมชาติเช่นกัน เช่นดอกพิกุล ดอกบัว ดอกมะลิ ลายก้านแย่ง
      
ผ้าทอพุมเรียง    
ผ้าหางกระรอก
เป็นชนิดของผ้าทอที่สร้างชื่อชนิดหนึ่งของภาคใต้และในภาคอีสานแถบจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จุดเด่นของผ้าหางกระรอกอยู่ที่การใช้เส้นด้ายสีต่างกันฝั้นเป็นเกลียวผสมในการทอ ทำให้แลดูคล้ายขนของตัวกระรอก สมัยโบราณนิยมใช้เส้นยืนไหมล้วนและใช้เส้นพุ่งไหม 2 สีต่างกันเช่นน้ำเงิน-ขาวฟั่นเป็นเกลียวก่อนทอ ปัจจุบันใช้ด้ายใยสังเคราะห์ผสมกับเส้นไหมวิทยาศาสตร์การใช้เส้นใยผสมช่วยเพิ่มความหลากหลายแก่เนื้อผ้า ให้ความเหนียวและความมันวาวกับผืนผ้าซึ่งนิยมนำมาใช้ทำเป็นผ้านุ่ง ผ้าโจงกระเบน อย่างไรก็ดี ผ้าหางกระรอกซึ่งทอด้วยเส้นใยผสมที่มีเนื้อผ้าแน่นก็อาจมีปัญหาต่อการสวมใส่  เพราะมีการถ่ายเทอากาศได้ไม่ดีเท่ากับผ้าที่ทอด้วยเส้นใยธรรมชาติ ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาชาวพม่านิยมใช้ผ้าหางกระรอกเป็นโสร่งสำหรับงานพิธีสำคัญและนิยมสั่งซื้อจากกรุงเทพฯ อยู่ระยะหนึ่ง
ผ้าปาเต๊ะ
สำหรับชาวใต้โดยทั่วไปไม่นิยมสวมเสื้อผ้าที่ผลิตด้วยใยไหม เว้นแต่จะเป็นโอกาสพิเศษเท่านั้นในเวลาทั่วไปจะนิยมสวมเสื้อผ้าเนื้อบางเบาแต่มีลายสีสันฉูดฉาด โดยเฉพาะผ้าย้อมสีที่เรียกว่า ผ้าปาเต๊ะ เป็นที่นิยมแพร่หลายตามคาบสมุทรภาคใต้ชาวมลายู จนกระทั่งถึงชาวหมู่เกาะชวา หมู่เกาะสุมาตรา และฟิลิปปินส์
ผ้าปาเต๊ะเป็นผ้าฝ้ายเนื้อบางเบานำมาเขียนลายด้วยขี้ผึ้ง แล้วใช้สีย้อมภายในกรอบเส้นขี้ผึ้งจะให้ลายชัดเจนกว่าการมัดย้อม ส่วนใหญ่นิยมใช้ทำผ้านุ่ง ผ้าโสร่ง ตัดเสื้อ และใช้เป็นผ้าปูนั่ง หรือผ้าคลุมต่าง
    
ผ้าปาเต๊ะ  

 

ผ้าทอปัตตานี
เมืองปัตตานีมีผ้ามัดหมี่คล้ายคลึงกับผ้าสมปักปูมของเขมรมาก ส่วนใหญ่ทอด้วยไหมละเอียด ลวดลายกระเดียดไปทางผ้ามาเลย์และชวามีเทคนิคหลากหลาย นอกจากนี้ ยังมีผ้าโสร่งไหมที่วิจิตรสวยงามมากคล้ายๆ โสร่งอีสาน
    

      
ผ้าทอปัตตานี
  ลักษณะประชากรทางด้านวัฒนธรรมและสังคม
                     ประชากรส่วนใหญ่ของภาคใต้มีลักษณะทางวัฒนธรรมและสังคมเช่นเดียวกับประชากรส่วนใหญ่ของประ เทศไทย แต่บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีประชากรที่มีเชื้อชาติ ศาสนาและภาษาแตกต่างไปบ้าง

                     ๑.เชื้อชาติ
                     ในดินแดนภาคใต้ของไทยนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทย ซึ่งจำแนกตามลักษณะเด่นได้ดังนี้
                     - ชาวไทยพุทธ คนไทยในภาคใต้ตอนบนเป็นคนไทยพุทธ ซึ่งมีขนบธรรมเนียมประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ประเพณีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ประเพณีชิงเปรตและประเพณีชักพระ ของ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้น
                     ส่วนคนไทยเชื้อสายจีนมีประเพณีบางอย่างที่แตกต่างออกไป เช่น มีเทศกาลถือศีลกินเจ ที่ จ.ภูเก็ต เป็นต้น
                     - ชาวไทยมุสลิม ในประเทศไทยมีจำนวนประมาณแสนคน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดชาย แดนภาคใต้ ชาวไทยมุสลิมใช้ภาษาพื้นเมืองเรียกว่าภาษายาวี แต่สามารถพูดไทยได้ เพราะปัจจุบันมีโรงเรียนของเอกชน และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเปิดสอนวิชาสามัญและวิชาศาสนา ซึ่งแต่เดิมผู้ปกครองนักเรียนไทยมุสลิม ต้องส่งเด็ก ไปเรียนหาความรู้ทางศาสนากับโต๊ะครูในปอเนาะ ปัจจุบันชาวไทยมุสลิมได้ดำรงตำแหน่งทางราชการที่สำคัญหลายตำแหน่ง เช่น พัฒนากร นายอำเภอ ครูใหญ่ เป็นต้น โดยทั่วไปชาวไทยมุสลิมมีนิสัยรักสงบ เคารพผู้ปกครองบ้านเมือง รักประเทศ ชาติและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เหมือนกับคนไทยทั่วไป
                     - ไทยใหม่หรือชาวเล บริเวณชายฝั่งและเกาะบางเกาะของภาคใต้ทางด้านทะเลอันดามันมีชาวพื้นเมืองที่เรียก ว่า ชาวเล หรือชาวน้ำ จำนวนเป็นหมื่นคน กลุ่มชาวเลมีสังคมภาษาพูดและขนบธรรมเนียมที่เป็นลักษณะของกลุ่มโดยเฉพาะ สันนิษฐานว่าชาวเลเหล่านี้เป็นเผ่าพันธุ์เมลาเซียนที่เร่ร่อนทางทะเลมาจากหมู่เกาะเมลาเซียน ซึ่งความจริงแล้วชาวเลน่าจะ อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้เพราะอยู่ใกล้หมู่เกาะเมลาเซียนมากกว่า แต่ชาวเลกลับไปอาศัยอยู่มากทางชายฝั่ง ด้านตะวันตก ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเลือกถิ่นฐานดังกล่าว ชุมชนชาวเลที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ ใน หมู่เกาะอาดัง หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ปัจจุบันชาวเลที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวรมีหลายแห่ง จึงต้องมี การทำสำมะโนครัวและมีการตั้งนามสกุลให้ เช่น ทะเลลึก ช้างน้ำ หาญทะเล เป็นต้น และได้เปลี่ยนชื่อเรียกชาวเลเสียใหม่ ว่า ชาวไทยใหม่
                     - เงาะหรือชนเผ่าซาไก ชนเผ่านี้เป็นชนกลุ่มรน้อย มีรูปร่างเตี้ยแคระ ผมหยิกหยอง ยังมีอยู่บ้างใน อ.บัน นังสตา อ.ธารโต จ.ยะลาและในป่า จ.ตรัง ยึดถือประเพณีของชาวป่า เช่น เมื่อมีคนตายจะย้ายที่ละทิ้งหมู่บ้านไปอยู่ที่ ใหม่ทั้งหมด เป็นต้น

                     ๒.ศาสนา
                     ประชากรในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนคนไทย โดยทั่วไป นอกจากนี้มีพิธีการปลีกย่อยบางอย่างที่แตกต่างกันบ้าง นอกจากไทยพุทธแล้ว บริเวณทางตอนใต้ของภาค โดยเฉพาะในเขตจังหวัดชายแดน ประชาชนในจังหวัดเหล่านี้เกือบร้อยละ ๖๐ นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อมีประชากรนับ ถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมากรองไปจากพระพุทธศาสนา ทางราชการจึงออกกฎหมายรับรอง และได้วางระเบียบ ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามด้วย เช่น มีกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนมัสยิด และได้มีการตั้งคณะ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก เพื่อให้คำปรึกษาแก่ทางราชการเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของศาสนาอิสลาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางเป็นศาสนู ปถัมภกของศาสนาอิสลามด้วย นอกจากนี้รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการประกอบพิธีการทางศาสนาของชาวไทย มุสลิมอย่างมาก จึงได้สร้างมัสยิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยให้แก่ชาวไทยมุสลิมตั้งอยู่ที่ จ.ปัตตานี
      ๓.ภาษา
               

                     ชาวไทยในภาคใต้ได้อพยพย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เป็นเวลานาน รวมทั้งได้ ผสมกับชนพื้นเมือง จึงทำให้มีผิวพรรณต่างไปจากคนภาคอื่นบ้าง รวมทั้งภาษาพูด และมีทะเลที่ตั้งห่างไกลจากเมือง หลวง การคมนาคมไม่สะดวก แยกกันมาหลายร้อยปี ภาษาจึงเปลี่ยนแปลงไปจากภาษาเดิม ซึ่งความจริงเพี้ยนไปตาม ท้องถิ่นแต่ยังเป็นภาษาไทยอยู่ มีสำเนียง เสียงห้วน และพูดเร็วกว่าภาษาทางภาคเหนือ แต่จังหวัดที่มีประชากรพูดต่าง กันไปคนละภาษาเลยก็คือในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมนิยมใช้ภาษามลายู เมื่อพูดกัน นานเข้าก็ไม่สารมารถพูดและฟังภารษาไทยให้เข้าใจได้ โดยเฉพาะผูที่อยู่ในชนบทห่างไกลและไม่ได้เข้าโรงเรียนสอนภาษา ไทย ในการติดต่อกับทางราชการจึงต้องใช้ล่ามแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น